วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 6 การใช้อินเทอร์เน็ต
ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายนานาชาติที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้อินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายทางการทหาร สังกัดกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 2512 ใช้ในงานวิจัย ด้านทหารและติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ต่อมามหาวิทยาลัยต่าง ๆ สนใจและขอร่วมโครงการ ทำให้เครือข่ายอาร์พาเน็ตมีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารเครือข่าย ดังนั้นทางการทหารจึงขอแยกตัวออกเป็นเครือข่ายเฉพาะของกองทัพและมีการติดต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ตเดิมด้วยเทคนิคการโต้ตอบ หรือโปรโตคอลแบบพิเศษที่เรียกว่า ทีซีพี/ไอพีเป็นครั้งแรก
จนกระทั่งปี 2533 ยุติเครือข่ายอาร์พาเน็ตและเปลี่ยนไปใช้ NFNET และเครือข่ายอื่น ๆ แทนและได้มีการเชื่อมต่อเครือข่ายอื่น จนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนถึงทุกวันนี้และเรียกเครือข่ายนี้ว่า”อินเทอร์เน็ต”
ISP (Internet Service Provider)
ISP หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่เปิดกี่เชื่อมต่อบุคคลหรือองค์กร สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้อยู่ 2 ประเภท คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษาการวิจัยและหน่วยงานของรัฐ
ISP ประเภทที่ให้บริการเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้น ๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตอัตราค่าบริการขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละรายข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกันสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปที่ร้านทั่วไปมาใช้และสมัครเป็นมาชิกรายเดือน
ISP ประเภทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจับและหน่วยงานของรัฐ เช่น เครือข่าวไทยสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การเชื่อมต่อโดยการหมุนโมเด็ม (Remote Access) การเชื่อมต่อโดยการหมุนโมเด็มสิ่งที่จำเป็นจะต้องมีได้แก่
- สมัครสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ISP ก่อน สิ่งที่ได้คือผู้ใช้และรหัสผ่าน
- สายโทรศัพท์
- โมเด็ม มีแบบ Internal Modem และ External Modem
2. กานเชื่อมแบบระบบ LAN (Local Area Network) การเชื่อมต่อเครือข่ายภายในองค์กรหากหน่วยงานมีบริการแบบ DHCP ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งหมายเลย IP Address สามารถใช้งานได้เลย
ศัพท์ที่สำคัญในอินเทอร์เน็ต
1. โปรโตคอล (Protocol)
2. ชื่อโดเมนเนม (DNS: Domain name/Domain name Server)
Internet Address คือ IP Address ที่อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร โดยตัวย่อของ Internet Address จะมีความแตกต่างตามหน่วยงานที่ดูแลการจดชื่อโดเมน สำหรับประเทศไทยมี 7 ประเภทคือ
.net.th สำหรับหน่วยงานของไทยที่ให้บริการเครือข่าย
.co.th สำหรับองค์กรธุรกิจที่จดทะเบียนในไทย
.or.th สำหรับองค์กรของไทยที่ไม่แสวงหาผลกำไร
.ac.th สำหรับหน่วยงานสถาบันการศึกษาของไทย
.mi.th สำหรับหน่วยงานทางทหารของไทย
.in.th สำหรับองค์กรหรือบุคคลทั่งไปของไทย
3. เวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web หรือ www)
4. เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)
5. โปรโตคอลของเว็บ (HTTP)
6.เว็บเพจ (Web page)
7. เว็บไซต์ (Web Site)
8. โฮมเพจ (HomePage)
9. ภาษของเว็บ (HTML: HyperText Markup Language)
10. ยูอาร์แอล (URL: Uniform Resource Locator)
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
1. ด้านการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลจากห้องสมุดออนไลน์ ศึกษาบทเรียนวิชาต่าง ๆ ฝึกทำข้อสอบ เกมส์การศึกษาสำหรับเด็ก และให้บริการข้อมลข่าวสารต่าง ๆ
2. ด้านธุรกิจ ปัจจุบันได้มีธุรกิจเกิดขึ้นมากมายในรูปแบบต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า E-Commerce มีทั้งโฆษณาและการให้บริการสินค้า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการโฆษณาด้วยสื่ออื่น ๆ ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อสินค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยวิธีการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตต่าง ๆ และยังสามารถหางานและสมัครงานผ่านระบบนี้ได้อีกด้วย
3. ด้านการสื่อสาร ใช้สำหรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือสามารถพูดคุยกับเพื่อนได้ทั่วโลกโดยไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ทางไกล
4. ด้านการบันเทิง ข้อมูลข่าวสารทางด้านบันเทิงมีอยู่มากมายเช่น ดูภาพยนตร์ ทีวี ฟังเพลง
อีเมลและการรับส่งอีเมล
อีเมล (Electronic mail หรือ E-mail) คือ กล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้สามารถรับและส่งอีเมลในอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสารโปรแกรมที่ใช้รับส่งอีเมลจะรับส่งผ่านทางเครื่องที่ให้บริการรับส่งเมล จะเรียกว่า “เมลเซิร์ฟเวอร์”
รูปแบบของ E-mail Address ชื่อผู้ใช้@ชื่อหน่วยงานหรือชื่อของโดเมน
การส่งอีเมล เมื่อผู้ใช้เขียนเมลโดยใช้โปรแกรมรับส่งเมลหรือใช้เว็บไซต์ที่ไปขออีเมลฟรีไคลเอนท์จะติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์โดยใช้โปรโตคอลอีเมลจะถูกส่งมาเก็บในเครื่องเมลเซิร์ฟเวอร์จัดเก็บลงในคิว เพื่อรอการจัดส่งต่อไป
การแลกเปลี่ยนอีเมลระหว่างเมลเซิร์ฟเวอร์ อีเมลที่ผู้ใช้ส่งมายังเซิร์ฟเวอร์ จะถูกจัดการโดยโปรแกรมแลกเปลี่ยนอีเมลโดยอ่านที่อยู่อีเมลปลายทาง และนำโดเมนปลายทางไปตรวจสอบกับเนมเซิร์ฟเวอร์เพื่อหาว่าเมลเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการโดยโดเมนปลายทาง จากนั้นจะติดต่อไปยังเมลเซิร์ฟเวอร์นั้น และส่งเมลไปยังเมลเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง โดยใช้โปรโตคอลเพื่อรอให้ผ้ใช้ปลายทางมารับอีเมลไป
การรับอีเมล ผู้ใช้ปลายทางสามารถรับอีเมลได้โดยผ่านโปรแกรมรับส่งอีเมลหรือเว็บเมลโดยโปรแกรมจะติดต่อมายังเครื่องเมลเซิร์ฟเวอร์ แล้วส่งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน เมื่อเมลเซิร์ฟเวอร์ตรวจสอบว่าวื่อผู้ใช้และรหัสผ่านถูกต้อง ก็จะอนุญาตผู้ใช้รับอีเมลได้โปรโตคอลที่ใช้ในการรับอีเมลนี้ เช่น POP3 หรือ IMAP4
POP3 = Post Office Protocol version 3
POP ถูกออกแบบสำหรับการเข้าถึงแบบ Offline คือ จดหมายอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ และผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมที่สนับสนุน POP ในการเข้าถึงจดมายระยะไกล การจัดการใด ๆกับจดหมายจะเป็นการจัดการในเครื่องของผู้ใช้เท่านั้นถึงแม้ข้อจำกัดของการเข้าถึงแบบ Offline จะทำให้เกิดความคิดที่จะทำให้ POP สามารถใช้งานในแบบ Disconnected ได้ แต่ POP ขาดคุณสมบัติที่จำเป็นบางอย่าง ส่วนการเข้าถึงแบบเสมือน Online จดหมายจะไม่ถูกลบออกจากเซิร์ฟเวอร์แต่ไม่ใช้การเข้าถึงที่แท้จริงเพราะขาดโปรโตคอลในการเข้าถึงระบบไฟล์ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์
IMAP
มีความสามารถในการเข้าถึงทั้งแบบ Offline คือการเข้าถึงโดยใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเดียว และแบบ Online โดยในแบบ Online คือ การเข้าถึงแบบตอบโต้กับเซิร์ฟเวอร์ และเข้าถึง mailbox หลาย ๆ อันจดหมายจะไม่ถูกดึงมาแต่จะเป็นแบบโต้ตอบกับเซิร์ฟเวอร์นั้นคือ ผู้ใช้สามารถดึงเฉพาะหัวเรื่องข้อจดหมาย บางส่วนของจดหมายหรือค้นหาจดหมายที่ตรงความต้องการ โดยจดหมายที่ถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ และสามารถตั้งค่าสถานะของจดหมายต่าง ๆ เช่น ถูกลบไปแล้ว ตอบไปแล้วและจะอยู่ในเซิร์ฟเวอร์จนกว่าผู้ใช้จะสั่งลบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น