วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 4 การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานธุรกิจ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบงานในองค์กรและงานด้านบริหารในโลกยุคใหม่ทำให้การค้าและการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงให้ก้าวทันสู่ยุคของการค้ารูปแบบใหม่โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและการให้บริการไปสู่กลุ่มลูกค้าเป็นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า คำว่า “อีคอมเมิร์ซ์” (E-Commerce/Electronics Commerce) จัดเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้องค์กร ได้เปรียบคู่แข่งขัน
ความหมายของอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)
อีคอมเมิร์ซ หรือชื่อแปลเป็นไทยว่า “พานิชย์อิเล็กทรอนิกส์” หมายถึง การดำเนินธุรกิจซื้อขายโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ E-Business หมายถึงการทำกิจกรรมทุกๆ อย่างทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่าอีคอมเมิร์ซที่เป็นการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ค้นหาข้อมูลหรือทำงานร่วมกันได้
อีคอมเมิร์ซ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน การตัดสินใจลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ จะต้องวางแผนให้รัดกุม ถึงแม้จะใช้เงินลงทุนในระยะแรกไม่สูงและไม่ต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนักก็สามารถทำธุรกิจประเภทนี้ได้ แต่ปัจจุบันมีคู่แข่งเข้ามาในธุรกิจมาก เพราะนักลงทุนสามารถเปิดธุรกิจได้ง่ายและกำลังอยู่ในความสนใจของคนรุ่นใหม่
ความเป็นมาของอีคอมเมิร์ซ
ปัจจุบันยังคงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทด้วยการใช้ระบบไปรษณีย์ และอีกหลายบริษัทใช้วิธีการป้อนข้อมูลลงในโปรแกรมแบบฟอร์มทางธุรกิจไม่ว่าเป็นใบสั่งซื้อใบส่งสินค้าใบเสร็จรับเงินและจัดพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์จึงจัดส่งแบบฟอร์มนั้นหรือใช้วิธีส่งแฟกซ์ทำให้บริษัทต้องสูญเสียเวลาอย่างมาก ในการติดต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ต่อมายุคการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) จึงได้มีแนวคิดที่จะให้คอมพิวเตอร์ช่วยการค้าทั้ง 2 ฝ่ายแลกเปลี่ยนเอกสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง คือ คอมพิวเตอร์ของฝ่ายหนึ่งจัดส่งเอกสารต่าง ๆ ที่เคยต้องพิมพ์ลงในกระดาษนั้นไปให้คอมพิวเตอร์ของอีกฝ่ายหนึ่งในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายแบบที่จัดสร้างขึ้นโดยเฉพาะหรือส่งผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานได้มาก แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ไม่มีเอกสารที่อยู่บนกระดาษเป็นหลักฐานให้เซ็นชื่อกำกับเหมือนก่อน นอกจากนี้โปรแกรมที่จะจัดการกับข้อมูลแต่ละฝ่ายก็มักจะเป็นโปรแกรมคนละอย่างที่ไม่สามารถใช้ด้วยกันได้
วิธีแก้ไขปัญหาคือ ปัญหาแรกอาจต้องมีการเข้ารหัสพิเศษก่อนจะส่งข้อมูล เพื่อยืนยันได้ว่าผู้ที่เข้ารหัสมาก็คือฝ่ายที่เป็นคู่ค้าไม่ใช่บุคคลอื่น ส่วนปัญหาข้อสองที่โปรแกรมไม่สามารถใช้งานในรูปแบบเดียวกันได้นั้น มีการวางมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเป็นระบบที่เรียกว่า ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบ EDI
แต่การนำระบบ EDI มาใช้ยังได้รับความนิยมน้อย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการวางระบบ และดำเนินงานสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่จะให้คอมพิวเตอร์ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถรับส่งข้อมูลกันได้อย่างราบรื่นยิ่งมีฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากขึ้นความยุ่งยากซับซ้อนก็มากขึ้น ทำให้มีการใช้กันเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมเฉพาะทางที่มีผู้ที่เกี่ยวข้องเพียงไม่กี่ฝ่ายเท่านั้น
ปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมแพร่หลาย แนวคิดในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการค้าระหว่างคอมพิวเตอร์ของแต่ละธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงนั้นก็เกิดขึ้น โดยแทนที่ระบบ EDI ซึ่งเป็นระบบของธุรกิจขนาดใหญ่ แต่กลายเป็นระบบการซื้อขายในระดับของผู้บริโภคทั่วๆไปโดยตรง ใครมีคอมพิวเตอร์สามารถต่อระบบอินเตอร์เน็ตได้ก็สามารถเข้าร่วมกับกระบวนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ทันที
ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)
ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อบุคคล มีดังนี้
1. มีสินค้าและบริการราคาถูกจำหน่าย
2. ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น
3. สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
4. ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว
5. ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด
6. สนับสนุนการประมูลเสมือนจริง
7. ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับลูกค้ารายอื่นในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
8. ทำให้เกิดการเชื่อมโยงการดำเนินงานภายในโซ่มูลค่า
ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อองค์กรธุรกิจ มีดังนี้
1. ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก
2. ทำให้บริการลูกค้าได้จำนวนมาก
3. ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวล การกระจาย การเก็บและการดึงข้อมูลได้ถึงร้อยละ 90
4. ลดต้นทุนการสื่อสารโทรคมนาคม
5. ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กแข่นขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้
6. ทำให้การจัดการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประโยชน์อีคอมเมิร์ซต่อสังคม มีดังนี้
1. สามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง การจราจรไม่ติดขัด ลดปัญหามลพิษทางอากาศ
2. การซื้อสินค้าราคาถูกลง คนที่มีฐานะไม่รวยก็สามารถยกระดับมาตฐานการขายสินค้าและบิการได้
ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. กิจการ SMEs ในประเทศกำลังพัฒนาอาจำได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางระดับโลก
2. ทำให้กิจการในประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆได้
3. บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง ทำให้ต้นทุนการซื้อขายลดลง อุปสรรคการเข้าสู่ตลาดลดลง
4. ทำให้ประชาชนในชนบทได้หาสินค้าหรือบริการได้เช่นเดียวกับในเมือง
5. เพื่อความเข้มข้นของการแข่งขัน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซ
ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านเทคนิคได้แก่
1. ขาดมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ
2. ความกว้างของช่องทางการสื่อสารมีจำกัด
3. ซอฟต์แวร์อยู่ระหว่างการพัฒนา
4. ปัญหาความเข้ากันได้ระหว่างอินเทอร์เน็ตและซอฟต์แวร์ของอีคอมเมิร์ซกับแอปพลิเคชั่น
5. ต้องการWeb Server และ Network Server ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
6. การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังมีราคาแพงและไม่สะดวก
ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านกฎหมาย มีดังนี้
1. กฎหมายที่สามารถคุ้มครองการทำธุรกรรมเข้ามรัฐหรือข้ามประเทศ ไม่มีมาตรฐานที่เหมือนกัน และมีลุกษณะที่แตกต่างกัน
2. การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่
3. ปัญหาเกิดจากการทำธุรกรรม เช่น การส่งสินค้ามีลักษณะแตกต่างจากที่โฆษณาบนอินเทอร์เน็ต จะมีการเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่

ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านธุรกิจ มีดังนี้
1. วงจรผลิตภัณฑ์จะสั้นลงเพราะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็ว เกิดคู่แข่งขันเข้ามาในตลาดได้ง่าย
2. ความพร้อมของภูมิภาคต่างๆ ในการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของอีคอมเมิร์ซมีไม่เท่ากัน
3. ภาษีและค่าธรรมเนียมจากอีคอมเมิร์ซจัดเก็บได้ยาก ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง
4. ต้นทุนในการสร้างอีคอมเมิร์ซครบวงจรค่อนข้างสูง เพราะร่วมถึงค่า Hardware , Software ที่มีประสิทธิภาพ ระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ การจัดการระบบเครือข่ายตลอดจนค่าจ้างบุคลากร
5. ประเทศกำลังพัฒนาต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสูงมากในโครงสร้างพื้นฐาน
6. เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดการฟอกเงินได้ง่าย เนื่องจากการใช้เงินสดอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้การตรวจสอบที่มาของเงินทำได้อยาก
ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านอื่น ๆ มีดังนี้
1. การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จบนอินเทอร์เน็ต มีมากและมีการขยายตัวเร็วมากว่าการพัฒนาของอินเทอร์เน็ต
2. สิทธิส่วนบุคคลระบบการจ่ายเงินหรือการให้ข้อมูลของลูกค้าทางอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้ขายทราบว่าผู้ซื้อเป็นใครและสามารถใช้ซอฟต์แวร์ติดตามกิจกรรมต่างหรือส่ง Spam ไปรบกวนได้
3. อีคอมเมิร์ซเหมาะกับระบบเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. ยังไม่มีการดำเนินผลการดำเนินงาน หรือวิธีการที่ดีของอีคอมเมิร์ซ เช่น การโฆษณา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น