วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบย่อย วิชา ความปลอดภัยโครงข่าย
1.จงอธิบายความหมายของระบบเครือข่าย พอเข้าใจ (2คะแนน)
- ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า ระบบเครือข่าย(Network) ประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่สามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การติดต่อจะผ่านทางช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่น ๆ ได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายถึง การที่เรานำเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องมาเชื่อมต่อกัน วัตถุประสงค์ที่ต้องต่อกันนี้ มักเกิดจากความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน เช่น ใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลในดิสก์ร่วมกัน ใช้งานเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่มีอยู่เครื่องเดียวร่วมกัน ต้องการส่งข้อมูลให้กับบุคคลอื่นในระบบไปใช้งาน หรือต้องการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น
2.จงบอกถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการนำคอมพิวเตอร์ต่างๆมาเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย (2คะแนน)
- 1.ใช้ทรัพยากรร่วมกัน คือ การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น การแชร์เครื่องพิมพ์ ทำให้ทุกคนสามารถใช้
เครื่องพิมพ์ร่วมกันได้
2.ใช้ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
3.ติดต่อสื่อสารภายในระบบเครือข่าย

3.จงบอกถึงสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้ในการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเป็นระบบเครือข่าย และอธิบายด้วยว่าส่วนประกอบนั้นๆ มีความสำคัญอย่างไร (2คะแนน)
-ในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ระบบเครือข่ายเพื่อใช้เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูล ซึ่งอุปกรณ์ระบบเครอข่ายดังกล่าวมีหลายชนิดด้วยกัน แต่ละอย่างก็จะทำงานต่างหน้าที่กัน

4. องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง จงบอกเป็นข้อๆ พร้อมอธิบาย (2คะแนน)
-1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
5. จงบอกถึงข้อดีข้อเสียของการเชื่อมต่อ LAN แบบ BUS แบบ RING และแบบ STAR โดยแยกแต่ละแบบ (2คะแนน)
- เครือข่ายแบบ LAN
ข้อดี
เป็นระบบเครือข่ายที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย สามารถติดตั้งได้ง่าย มีความเร็วของการรับส่งข้อมูลสูง อีกทั้งมีต้นทุนในการติดตั้งต่ำ
ข้อเสีย
1. มีสัญญาณรบกวนสูง
2. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
3. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้ มีปัญหา ในการ ใช้งาน ร่วมกัน
เครือข่ายแบบ BUS
ข้อดี
1.เป็นระบบที่ง่ายไม่ซับซ้อน
2.ประหยัดสายสัญญาณเพราะใช้แค่เส้นเดียว
ข้อเสีย
1.ติดตามข้อผิดพลาดได้ยาก
2.ควบคุมการทำงานได้ยาก
3. ถ้าสายส่งสัญญาณหลักเสียหาย ระบบเครือข่ายจะไม่สามารถทำงานได้
เครือข่ายแบบ STAR
ข้อดี
1. สะดวก ง่ายต่อการตรวจสอบการทำงานของระบบโดยรวม
2. หากเครื่องคอมพิวเตอร์สถานีงานหนึ่งเสีย เครื่องอื่น ๆ สามารถใช้งานได้ตามปกติ
3. มีความเป็นระเบียบ
ข้อเสีย
1. อัตราเร็วในการส่งข้อมูลช้า ( 4 Mbps)
2. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของสายสัญญาณ
3. การขยายระบบจะขึ้นอยู่กับจุดควบคุมส่วนกลาง
4. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เซริ์ฟเวอร์เสีย เครือข่ายจะไม่สามารถทำงานได้

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดที่ 2
1.OSI Model ย่อมาจาก
- OSI Reference Model (OSI : Open Systems Interconnection) เป็นมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใช้ในการอ้างอิง เพื่อให้มองภาพของการสื่อสารข้อมูลเป็นหน่วยย่อย ๆ เพื่อง่ายในการทำความเข้าใจในแต่ละส่วน และสะดวกต่อการพัฒนาโปรแกรมหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทางด้านเน็ตเวิร์ก
2.มาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใช้ในการอ้างอิงเพื่อให้มองภาพของการสื่อสารข้อมูลเป็นหน่วยย่อย ๆ เพื่อง่ายในการทำความเข้าใจในแต่ละส่วน และสะดวกต่อการพัฒนาโปรแกรมหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทางด้านเน็ตเวิร์ก มี กี่ชั้น
- มี 7 ชั้น

Layer 7 Application Layer
Layer 6 Presentation Layer
Layer 5 Session Layer
Layer 4 Transport Layer
Layer 3 Network Layer
Layer 2 Data Link Layer
Layer 1 Physical Layer
3.Application Layer เป็นการสื่อสารในระดับแอปพลิเคชั่น เช่น
- เบราเซอร์ โปรแกรมอีเมลไคลเอนต์ และโปรแกรม Telnet
4.Presentation Layer เป็นโปรโตคอลควบคุมเกี่ยวกับรูปแบบของข้อมูลที่จะถูกนำเสนอเช่น
- รูปแบบรหัส ASCII และ JPEG
5.Session Layer ทำหน้าที่จัดการข้อมูลในระดับเซสซัน เช่น
- เซสซันของ SQL Server เพื่อจัดเตรียมข้อมูลส่งต่อให้กับ Layer 6 และ วิธีการส่งข้อมูล ได้แก่ Simplex , Half Duplex , Full Duplex
6.สาย UTP ที่ใช้กับระบบแลนทั่ว ๆ ไป จะประกอบด้วย
- ซึ่งใช้หัวต่อแบบ RJ-45 ซึ่งมีทั้งหมด 8 ขา สายแบบนี้ที่เข้าหัวไว้แล้วจะหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือจะซื้อแบบเป็นม้วนมาตัดเข้าหัวเองก็ได้ แต่ต้องมีเครื่องมือหรือคีมเข้าหัว RJ-45 โดยเฉพาะ มีข้อจำกัดคือ จะต้องยาวไม่เกิน 100 เมตร จากเครื่องไปยัง Switch และแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ
• สายตรง (Straight-through Cable) คือสายปกติที่ใช้เชื่อมระหว่างการ์ด LAN และ Hub / Switch
• สายไขว้ (Crossover Cable) ใช้ต่อการ์ด LAN บนคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องหรือพอร์ตของ Hub หรือ Switch 2 ตัวโดยตรง เพื่อเพิ่มขยายพอร์ต ซึ่งวิธีการเข้าหัวจะต่างจากปกติ
7.อธิบายความหมายของศัพท์ต่อไปนี้
7.1.สายไฟเบอร์ออปติก (Fiber-Optic)
- สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีแบนด์วิดท์ (BW) ได้กว้างถึง 3 จิกะเฮิรตซ์ (1 จิกะ = 109) และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง 1 จิกะบิตต่อวินาที ภายในระยะทาง 100 กม. โดยไม่ต้องการ เครื่องทบทวนสัญญาณเลย สายไฟเบอร์ออปติกสามารถ มีช่องทางสื่อสาร ได้มากถึง 20,000-60,000 ช่องทาง สำหรับการส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ ไม่เกิน 10 กม. จะสามารถมีช่องทางได้มากถึง 100,000 ช่องทางทีเดียว
7.2.รีพีตเตอร์ (Repeater)
- ในระบบ LAN โดยทั่วไปนั้นยิ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอยู่ไกลกันมากเท่าไร สัญญาณที่ส่งถึงกันก็จะเริ่มเพี้ยน และจางลงจนหายไปในที่สุด ซึ่งเมื่อสายที่ต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มีความยาวเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด ก็จะต้องมีการเพิ่มอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า รีพีตเตอร์ ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ทวนสัญญาณ คือช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งบนสาย LAN ให้แรงขึ้นและจัดรูปสัญญาณที่เพี้ยนไปให้กลับเหมือนเดิม จากนั้นจึงค่อยส่งต่อไป
7.3.สวิตช์ (Switch)
- เป็นอุปกรณ์เครือข่ายเช่นเดียวกันกับฮับ ( hub) และมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่ ในแต่ละพอร์ต (port) จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่า เช่น สวิตช์ที่มีความเร็ว 10 Mbps นั้น จะหมายความว่า ในแต่ละพอร์ตจะสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 10 Mbps และนอกจากนั้นเครื่องทุกเครื่องที่ต่อมายังสวิตช์ยังไม่ได้อยู่ใน Collision Domain เดียวกันด้วย (ซึ่งถ้าฮับจะอยู่) นั่นหมายความว่าแต่ละเครื่องจะได้ครอบครองสายสัญญาณแต่เพียงผู้เดียว จะไม่เกิดปัญหาการแย่งสายสัญญาณ และการชนกันของสัญญาณเกิดขึ้น7.4.เร้าเตอร์ (Router)



วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิชา พื้นฐานการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และ การประมวลผล เพื่อสร้างการทำงานและความสัมพันธ์ของการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างองค์กรธุรกิจ เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต้นทุนที่ต่ำลง โครงสร้างพื้นฐานของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์คือการโอนย้ายรายการ ( transaction ) เกี่ยวกับสินค้าและบริการ การดำเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อาจดำเนินการระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ(B-B = Business to Business) ระหว่างธุรกิจกับกับลูกค้า(B-C = Business to Customer) หรือระหว่างลูกค้ากับลูกค้า(Customer to Customer) และในสหรัฐอเมริกายังมีการปรับเทคโนโลยีทางทหารให้กลายเป็นธุรกิจที่เรียกกันว่า M to B(Military to Business) ด้วย
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบการทำธุรกิจ
1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ อาทิ ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น
2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค อาทิ การขายสินค้าอุปโภคบริโภค
3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G) หมายถึงธุรกิจการบริหารการค้าของ ประเทศ เพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล
4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) หมายถึงธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ลดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมทั้งค่าเช่าพื้นที่ขายหรือการลงทุนในการสร้างร้าน ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนของธุรกิจต่ำลง
2. ประหยัดเวลาและขั้นตอนทางการตลาด
3. เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง และให้บริการได้ทั่วโลก
4. ช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5. สามารถทำกำไรได้มากกว่าระบบการขายแบบเดิม เนื่องจากต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ได้กำไรจากการขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
6. สามารถนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ในลักษณะ Interactive Market
7. ปรับปรุงหรือ Update ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา
8. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ซื้อหรือลูกค้า อาทิ ชื่อ ที่อยู่ พฤติกรรม การบริโภค สินค้าที่ต้องการ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการทำวิจัยและวางแผนการตลาด เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น
9. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์กร ในเรื่องของความทันสมัยและเป็นโอกาสที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก
10. สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วและเสียเวลาน้อย

ข้อดีของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. สามารถเข้าหาลูกค้าได้โดยตรง เสียค่าใช้จ่ายต่ำ เนื่องจากต้องผ่านคนกลาง
2. สามารถขายสินค้าในราคาที่ต่ำลง เนื่องจากต้นทุนต่ำลง
3. ทำให้สามารถขยายตลาดได้กว้างและเร็วขึ้น
4. เหมาะสำหรับธุรกิจที่เป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าใหม่หรือยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วไป

วิธีการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. การฝากสินค้าขายของบน Shopping Mall (เป็นศูนย์รวมการขายสินค้าขนาดใหญ่บนอินเตอร์เน็ตคล้ายกับศูนย์การค้า) เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีเงินลงทุนน้อย และสินค้าไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไป ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก เสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องประชาสัมพันธ์หรือ Update ข้อมูลต่างๆ โดยวิธีการลงโฆษณา ติดประกาศขาย หรือการประมูลสินค้า ทั้งในรูปแบบของการขายส่งและขายปลีก
2. สร้าง web Site ของตัวเอง เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีเงินลงทุน และมีเครื่องหมายการค้าของตัวเอง ถึงแม้ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และต้อง Update ข้อมูลต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แต่สามารถจัดหน้าร้าน และให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวสินค้าเพื่อช่วยการตัดสินใจของผู้ซื้อได้มากกว่า นอกจากนี้ยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการคิดค่าบริการในการลงโฆษณาสินค้า

แบบฝึกหัดที่ 1 เรื่องลีนุกซ์
1.ลีนุกซ์คืออะไร
-ลีนุกซ์ (Linux) เป็นชื่อระบบปฏิบัติการประเภทหนึ่ง (Operating System) หรือ OS คือเป็นโปรแกรมประเภท Open Source มีหน้าที่ในการช่วยให้โปรแกรมอื่น ๆ สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยระบบปฏิบัติการจะเป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์
2.ความเป็นมาของลีนุกซ์เป็นอย่างไร
-ผู้พัฒนาลีนุกซ์คนแรก นายไลนัส ทอร์วัลดระบบปฏิบัติการที่ชื่อ มินิกซ์ (Minix) เป็นระบบยูนิกซ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ไลนัสเห็นว่ามินิกช์ยังใช้งานได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใหม่โดยใช้ยูนิกช์เป็นต้นแบบภายใต้ชื่อว่า ลีนุกซ์ โดยไลนัสเลือกใช้ นกเพนกวิน ชื่อ “Tux” เป็นสัญลักษณ์นำโชคของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
3.ประโยชน์ของลีนุกซ์มีอะไรบ้าง
ความปลอดภัยในการทำงาน มีความเสถียรภาพในการทำงาน ใช้เครื่องคอพิวเตอร์สเปคต่ำ
4.โครงสร้างของลีนุกซ์มีอะไรบ้าง
-ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
-เคอร์เนล (Kernel)
-เซลล์ (Shell)
-โปรแกรมประยุกต์ (Application)
5.เคอร์เนล (Kernel) คืออะไร
เป็นส่วนที่สำคัญของระบบ เรียกว่า เป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริหารโพรเซสงาน (Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต เอาต์พุต บริหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนไปเคอร์เนลก็จะเปลี่ยนไปด้วย
6.เซลล์ (Shell) คืออะไร
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเช่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เซลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาต์พุตได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด
7.ระบบวินโดวส์ (Window) บนลีนุกซ์มีอะไรบ้าง (ค้นหาเพิ่มเติมให้มากที่สุด)
ลีนุกซ์ทะเล ลีนุกซ์อูบุนตู ลีนุกซ์ Redhat
8.ระบบ X Window คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร
ทำหน้าที่ในการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล (ทำหน้าที่เหมือนกับเชลล์) แต่จะอยู่ในรูปแบบของวินโดวส์ ประกอบด้วยหน้าต่างการทำงานของโปรแกรม ปุ่ม ไอคอน และเมนู สั่งงานด้วยเมาส์คลิก ทำให้การทำงานสะดวกและง่ายขึ้น
9. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของลีนุกซ์ต้องเตรียมอะไรบ้าง
1.ตรวจสอบข้อมูลฮาร์ดแวร์ของระบบ
2.เตรียมพื้นที่สำหรับลีนุกซ์
10. ลีนุกซ์แบบ Text Mode เป็นอย่างไร มีรุ่นใดบ้าง
การใช้คอมพิวเตอร์ของเราที่กำลังใช้งานอยู่ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า Host ทำการเชื่อมต่อไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมายในอินเตอร์เน็ต ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าเครื่อง Remote และเมื่อทำการเชื่อมต่อกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถทำงานที่เครื่อง Host โดยการทำงานนั้นเสมือนหนึ่งนั่งทำงานอยู่ที่หน้าเครื่อง Remote ทุกประการ โปรแกรมที่ใช้งานได้แก่ telnet และ ssh(Secure shell) ปัจจุบันตัว telnet daemon มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ดังนั้นผู้ใช้ส่วนใหญ่จึงหันมาใช้ secure shell แทน
รุ่น

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 1

การ์ดเน็ตเวิร์ก (Network Interface Card)
ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า “การ์ดแลน” นั้นมีหน้าที่ในการที่จะนำเฟรมข้อมูล ส่งลำเลียงไปตามสายนำส่งสัญญาณ ซึ่งมันจะแปลงเฟรมข้อมูลให้เป็นข้อมูลระดับบิต (bit) เสียก่อน โดยส่วนมากแล้วมักจะใช้การ์ดเน็ตเวิร์กแบบ Ethernet ซึ่งจะมีความเร็วในการรับส่ง 10 เมกะบิตต่อวินาที และใช้ Fast Ethernet ที่มีความเร็วในการรับส่งสูงถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที


สาย TP (Twisted Pair)
เป็นสายคู่ตีเกลียวบิดไขว้กันไปตลอดแนวความยาว เพื่อลดการรบกวนจากสัญญาณภายนอก แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบที่มีชีลห่อหุ้ม ซึ่งเรียกว่า STP (Shield Twisted Pair) และแบบที่ไม่มีชีลห่อหุ้มซึ่งเรียกว่า UTP (Unshield Twisted Pair)



สายโคแอคเชียล (Coaxial)
เป็นสายที่มีลักษณะคล้ายกับสายที่ต่อระหว่างเครื่องรับโทรทัศน์กับเสาอากาศ ซึ่งโครงสร้างของมันจะประกอบด้วยแกนทองแดงตรงกลางและมีฉนวนหุ้ม

สายไฟเบอร์ออปติก (Fiber-Optic)
เป็นสายนำสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลในรูปของแสง โครงสร้างภายในจะเป็นท่อเล็ก ๆ ที่ทำมาจากแก้ว ซึ่งทำหน้าที่สะท้อนแสง แสงที่เดินทางจากต้นทางไปยังปลายทางจะไม่สะท้อนออกมาข้างนอก แต่จะสะท้อนไปมาภายในตลอดแนวความยาว ซึ่งใช้หลักการของดัชนีการหักเหของแสง สายไฟเบอร์ออปติกจะสามารถส่งสัญญาณได้เร็วกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที และจะไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าจากภายนอกแต่ข้อเสียของมันก็คือมีราคาแพง



ฮับ (Hub)
เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นได้บ่อย เนื่องจากฮับใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอีเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology) โดยใช้สาย UTP ต่อเชื่อมระหว่างการ์ดเน็ตเวิร์กบนเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับฮับ โดยเชื่อมต่อทางช่องเสียบ RJ-45 ซึ่งการต่อระบบแลนลักษณะนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดปัจจุบัน ฮับจะมีช่องเสียบ RJ-45 ตัวเมียอยู่หลายช่อง เพื่อใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ถ้ายิ่งมีช่องเสียบมากก็จะยิ่งต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ได้มาก แต่ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย การทำงานของฮับนั้นก็คล้าย ๆ กับรีพีตเตอร์ คือมันจะทำซ้ำและเพิ่มความแรงของสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วส่งออกไปยังพอร์ต (ช่องเสียบ) ที่เหลือ แต่จะต่างกันตรงที่ฮับมีพอร์ตมากกว่ารีพีตเตอร์ ข้อดีของฮับคือมีราคาถูก แต่ข้อเสียคือเรื่องการชนกัน (Collision) ของข้อมูล (เนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับฮับจะอยู่ในคอลลิชันโดเมนเดียวกัน) ถ้ายิ่งต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ก็ยิ่งทำให้โอกาสที่จะเกิดการชนกันของข้อมูลสูง ซึ่งทำให้ความเร็วโดยรวมของระบบช้าลง


บริดจ์ (Bridge)
สร้างขึ้นมาเพื่อลดปัญหาการชนกันของข้อมูลที่เกิดจากการใช้ฮับ โดยบริดจ์จะสามารถแบ่งคอลลิชันโดเมนให้มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ในแต่ละคอลลิชันโดเมนเหลือจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยลง จึงทำให้โอกาสที่จะเกิดการชนกันของข้อมูลได้น้อยลงตามไปด้วย ปัจจุบันบริดจ์ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายกันแต่ดีกว่า ซึ่งก็คือสวิตช์

สวิตช์ (Switch)
สวิตช์ทำงานเหมือนกับบริดจ์ เพียงแต่มีพอร์ตมากกว่า ซึ่งจำนวนพอร์ตจะมากพอ ๆ กับฮับ สวิตช์จะมีหน้าตาคล้ายกับฮับมาก แต่การทำงานจะแตกต่างกัน สวิตช์จะเลือกส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ดังนั้น จึงไม่มีโอกาสเกิดการชนกันของข้อมูล ทำให้ประสิทธิภาพด้านความเร็วของเครือข่ายสูงขึ้นมาก และเนื่องจากในปัจจุบันราคาของสิวตช์ถูกลงมาก จึงมีหลายหน่วยงานที่นำสวิตช์ไปใช้แทนฮับเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านความเร็วของเครือข่าย และนอกจากนั้นสวิตช์ยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของความปลอดภัยจากการแบดักจับข้อมูลอีกด้วย ซึ่งจะได้กล่าวในบทต่อไป




เร้าเตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างเครือข่าย ซึ่งโดยส่วนมากมักจะใช้เร้าเตอร์เพื่อเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายแลนภายในองค์กรกับอินเทอร์เน็ต หรือเชื่อมระหว่างศูนย์กลางกับสาขา เป็นต้น


ไฟร์วอลล์ (Firewall)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มระดับความปลอดภัยให้กับเน็ตเวิร์ก โดยมันจะเป็นตัวขั้นระหว่างเน็ตเวิร์กภายในหน่วยงานกับเน็ตเวิร์กภายนอกเช่น อินเทอร์เน็ต และคอยป้องกันแพ็กเก็ตอันตรายไม่ให้วิ่งเข้ามายังเน็ตเวิร์กภายในได้ ซึ่งระดับความปลอดภัยนั้นจะขึ้นอยู่กับ Access Rule ที่ผู้ดูแลระบบตั้งไว้ว่ารัดกุมเพียงใด ไฟร์วอลล์ไม่ได้ช่วยป้อนกันแฮกเกอร์ (hacker) ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มันก็ช่วยทำให้แฮกเกอร์ต้องทำงานลำบากขึ้น ซึ่งผู้เขียนก็เคยนำเสนอวิธีการที่แฮกเกอร์ใช้แฮก Windows 2000 ผ่านทาง IIS โดยที่ไฟร์วอลล์ป้องกันไม่ได้ไปแล้วในหนังสือ Hack Step by Step



โปรโตคอล (Protocol)
การที่คอมพิวเตอร์ 2 เครื่องจะสื่อสารกันได้นั้น จะต้องใช้ภาษากลางในการสื่อสารกันซึ่งเรียกว่า โปรโตคอล ปัจจุบันโปรโตคอลมีมากมายหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของระบบ ว่าต้องใช้โปรโตคอลอะไรเมื่อเวลาใด เช่นเมื่อมีผู้ใช้จากเครื่องไคลเอนต์มาขอรับอีเมล์จากเมล์เซิร์ฟเวอร์ด้วยโปรโตคอล POP3 ตัวเมล์เซิร์ฟเวอร์ก็จะต้องพูดจาภาษาโปรโตคอล POP3 กับเครื่องไคลเอนต์ด้วยเช่นกัน



CSMA / CD
เป็นโปรโตคอลในระบบเครือข่าย Ethernet เป็นระบบแลนชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ใช้เมื่อการ์ดเน็ตเวิร์กต้องการจะส่งข้อมูลออกไปตามสายเพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูล การ์ดเน็ตเวิร์กจะทำการเงื่ยหูฟังสักระยะหนึ่งก่อนว่าสายส่งว่างแล้วหรือยัง เมื่อไม่มีใครส่งข้อมูลมันก็จะทำการส่งข้อมูลออกไปตามสายสัญญาณและคอยเงี่ยหูฟังอยู่เป็นระยะ ๆ เมื่อพบว่ามีการชนกันของข้อมูลมันจะหยุดส่งทันที แล้วสุ่มช่วงเวลาเพื่อส่งข้อมูลใหม่อีก เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามที่ชนกับเราก็ใช้โปรโตคอล CSMA / CD เช่นกัน ดังนั้นใครที่สุ่มช่วงเวลาได้น้อยกว่าคนนั้นก็จะได้ส่งก่อน



ARP
เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งตามไอพีแอดเดรสที่ระบุ (ไอพีแอดเดรสเป็นตัวที่ใช้บ่งบอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเน็ตเวิร์ก แต่ไอพีแอดเดรสจะอยู่ในระดับที่สูงกว่า MAC Address นั่นคือไอพีแอดเดรสอยู่ในระดับที่ห่างไกลจากระดับการทำงานทางกายภาพ เช่น การส่งสัญญาณไฟฟ้ามากกว่า MAC Address) การ์ดเน็ตเวิร์กผู้ที่จะต้องส่งเฟรมข้อมูลไปยัง MAC Address ของการ์ดเน็ตเวิร์กบนเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง จำเป็นที่จะต้องทราบว่าถ้าต้องการส่งไปยังไอพีแอดเดรสนี้ ต้องส่งไป MAC Address หมายเลขอะไร ดังนั้นจึงต้องมีโปรโตคอลที่ใช้ในการค้นหาคำตอบดังกล่าว ซึ่งโปรโตคอลนั้น ก็ถูกนักคอมพิวเตอร์คิดค้นขึ้นมาแล้วได้รับการตั้งชื่อว่า (ARP: Address Resolution Protocol) การทำงานของ ARP คือ เริ่มจากผู้ส่งทำการตรวจสอบในตารางข้อมูล ARP ของตนเองก่อน ถ้าไม่มีข้อมูล MAC Address ของปลายทางก็จะส่งคำร้องขอ (ARP Request) กระจายแบบบรอดคาสต์ออกไป คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะได้รับคำร้องขอนี้ แล้วแต่ละเครื่องก็จะนำไอพีแอดเดรสที่ต้นทางส่งมา ทำการเปรียบเทียบกับไอพีแอดเดรสของตนเอง ถ้าตรงกับของตนเองก็จะส่งคำตอบรับ (ARP Reply) กลับไปยังต้นทาง ซึ่งข้อมูลที่ส่งตอบรับกลับไปจะมีหมายเลข MAC Address ของตนเองด้วย พร้อมทั้งเก็บไอพีแอดเดรส และ MAC Address ของผู้ส่งไว้ในตารางข้อมูล ARP ของตนเองด้วย



PPP (Point to Point Protocol)
PPP เป็นโปรโตคอลแบบจุดต่อจุดชนิดหนึ่ง มักใช้กับเครือข่าย WAN ซึ่ง PPP ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อชดเชยข้อบกพร่องหลายอย่างของโปรโตคอล SLIP เช่น SLIP ไม่สามารถรับรองความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และไม่สามารถกำหนดไอพีแอดเดรสโดยอัตโนมัติได้ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งานโปรโตคอล PPP ก็อย่างเช่น เมื่อเราทำการ Dial ไปยัง ISP เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นต้น



IP (Internet Protocol)
IP เป็นโปรโตคอลในระดับชั้นเน็ตเวิร์ก ซึ่งทำหน้าที่กำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นตัวที่บ่งบอกให้เร้าเตอร์ทราบว่าควรจะส่งแพ็กเก็ตนี้ไปเส้นทางใด โปรโตคอล IP จะมีลักษณะเป็น Unreliable และ connectionless ซึ่ง unreliable หมายถึงโปรโตคอล IP ไม่มีกลไกที่จะรับประกันว่าข้อมูลส่งถึงปลายทางได้สำเร็จ ส่วน connectionless หมายถึงไม่มีการสถาปนาการเชื่อมต่อ ดังนั้นการที่จะให้ข้อมูลเชื่อถือได้จึงตกเป็นหน้าที่ของโปรโตคอลระดับบนเช่น TCP เป็นต้น



UDP
เป็นโปรโตคอลชั้นที่อยู่สูงกว่าโปรโตคอล IP โปรโตคอล UDP เป็นโปรโตคอลที่เชื่อถือไม่ได้ เพราะถ้าข้อมูลหายระหว่างทางข้อมูลจะไม่ถูกนำส่งใหม่ UDP มักจะถูกนำมาใช้กับงานทางด้าน Multimedia เช่นส่งภาพและเสียง ซึ่งถ้าภาพที่ต้องการส่งมีการสูญหายของข้อมูลไปสัก 2 หรือ 3 pixel (จุดสี)เราก็ยังเห็นเป็นภาพอยู่ดี ข้อดีของ UDP ก็คือ ได้เปรียบด้านความเร็ว เพราะขั้นตอนของมันจะไม่ยุ่งยากเหมือนกับ TCP

สัปดาห์ที่ 1 วันพุธที่ 20 ตุลาคม 2553

วิชาความปลอดภัยโครงข่าย
(แบบทดสอบก่อนเรียน)
1. ค.ระบบที่มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 2 ตัว ขึ้นไปเพื่อสามารถรับส่งข้อมูลกันได้
2. ก.ฮาร์ดแวร์ สื่อกลางนำข้อมูล ซอฟต์แวร์
3. ง.Microsoft Windows XP
4. ข.สายขนาดเล็ก มี 6 เส้น
5. ง.ถูกทั้ง ข. และ ค.
6. ข.เป็นระบบ LAN ต่อในแบบ Ring
7. ค.ส่งเป็นสัญญาณแบบดิจิตอล 0 และ 1
8. ง.การผสมสัญญาณที่จะส่งเข้ากับสัญญาณ อนาล็อก
9. ง.Fiber Optic
10. ค.สายที่ต่อเข้ากับฮับ
11. ง.ถูกทุกข้อ
12. ข.ใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สาย
13. ค.รับส่งข้อมูลแบบโครงข่ายโดยตรง
14. ค.รวมสัญญาณ
15. ก.เป็นสะพาน

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัด หน่วยที่2

แบบฝึกหัด หน่วยที่2
แบบฝึกหัด หน่วยที่2
คำสั่ง จงบอกชื่อ และหน้าที่ประกอบของหน้าจอโปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 ต่างๆ ต่อไปนี้ ให้ถูกต้อง
1แถบชื่อเรื่อง Title Bar
2แถบเมนู Menu Bat
3แถบเครื่องมือ Tool Bar
4กล่องเครื่องมือ Tool Box
5พื้นที่กระดาษ Artboard
6ไม้บรรทัดเเนวตั้ง Vertical Ruler
7เส้นเเสดงกรอบกระดาษ Guideline Margin
8พิ้นที่กระดาษทด Pasyeboard
9แผงควบคุม Control Palette
10แถบเลื่อนเเนวตั้ง Vertical Scroll bar
11หน้าต้นเเบบ Master Page
12หน้ากระดาษ Page lcon
13แถบเลื่อนแนวนอน Horizontal Scroll bar