วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบย่อย วิชา ความปลอดภัยโครงข่าย
1.จงอธิบายความหมายของระบบเครือข่าย พอเข้าใจ (2คะแนน)
- ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า ระบบเครือข่าย(Network) ประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่สามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การติดต่อจะผ่านทางช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่น ๆ ได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายถึง การที่เรานำเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องมาเชื่อมต่อกัน วัตถุประสงค์ที่ต้องต่อกันนี้ มักเกิดจากความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน เช่น ใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลในดิสก์ร่วมกัน ใช้งานเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่มีอยู่เครื่องเดียวร่วมกัน ต้องการส่งข้อมูลให้กับบุคคลอื่นในระบบไปใช้งาน หรือต้องการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น
2.จงบอกถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการนำคอมพิวเตอร์ต่างๆมาเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย (2คะแนน)
- 1.ใช้ทรัพยากรร่วมกัน คือ การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น การแชร์เครื่องพิมพ์ ทำให้ทุกคนสามารถใช้
เครื่องพิมพ์ร่วมกันได้
2.ใช้ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
3.ติดต่อสื่อสารภายในระบบเครือข่าย

3.จงบอกถึงสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้ในการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเป็นระบบเครือข่าย และอธิบายด้วยว่าส่วนประกอบนั้นๆ มีความสำคัญอย่างไร (2คะแนน)
-ในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ระบบเครือข่ายเพื่อใช้เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูล ซึ่งอุปกรณ์ระบบเครอข่ายดังกล่าวมีหลายชนิดด้วยกัน แต่ละอย่างก็จะทำงานต่างหน้าที่กัน

4. องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง จงบอกเป็นข้อๆ พร้อมอธิบาย (2คะแนน)
-1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
5. จงบอกถึงข้อดีข้อเสียของการเชื่อมต่อ LAN แบบ BUS แบบ RING และแบบ STAR โดยแยกแต่ละแบบ (2คะแนน)
- เครือข่ายแบบ LAN
ข้อดี
เป็นระบบเครือข่ายที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย สามารถติดตั้งได้ง่าย มีความเร็วของการรับส่งข้อมูลสูง อีกทั้งมีต้นทุนในการติดตั้งต่ำ
ข้อเสีย
1. มีสัญญาณรบกวนสูง
2. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
3. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้ มีปัญหา ในการ ใช้งาน ร่วมกัน
เครือข่ายแบบ BUS
ข้อดี
1.เป็นระบบที่ง่ายไม่ซับซ้อน
2.ประหยัดสายสัญญาณเพราะใช้แค่เส้นเดียว
ข้อเสีย
1.ติดตามข้อผิดพลาดได้ยาก
2.ควบคุมการทำงานได้ยาก
3. ถ้าสายส่งสัญญาณหลักเสียหาย ระบบเครือข่ายจะไม่สามารถทำงานได้
เครือข่ายแบบ STAR
ข้อดี
1. สะดวก ง่ายต่อการตรวจสอบการทำงานของระบบโดยรวม
2. หากเครื่องคอมพิวเตอร์สถานีงานหนึ่งเสีย เครื่องอื่น ๆ สามารถใช้งานได้ตามปกติ
3. มีความเป็นระเบียบ
ข้อเสีย
1. อัตราเร็วในการส่งข้อมูลช้า ( 4 Mbps)
2. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของสายสัญญาณ
3. การขยายระบบจะขึ้นอยู่กับจุดควบคุมส่วนกลาง
4. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เซริ์ฟเวอร์เสีย เครือข่ายจะไม่สามารถทำงานได้