วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดที่ 2
1.OSI Model ย่อมาจาก
- OSI Reference Model (OSI : Open Systems Interconnection) เป็นมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใช้ในการอ้างอิง เพื่อให้มองภาพของการสื่อสารข้อมูลเป็นหน่วยย่อย ๆ เพื่อง่ายในการทำความเข้าใจในแต่ละส่วน และสะดวกต่อการพัฒนาโปรแกรมหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทางด้านเน็ตเวิร์ก
2.มาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใช้ในการอ้างอิงเพื่อให้มองภาพของการสื่อสารข้อมูลเป็นหน่วยย่อย ๆ เพื่อง่ายในการทำความเข้าใจในแต่ละส่วน และสะดวกต่อการพัฒนาโปรแกรมหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทางด้านเน็ตเวิร์ก มี กี่ชั้น
- มี 7 ชั้น

Layer 7 Application Layer
Layer 6 Presentation Layer
Layer 5 Session Layer
Layer 4 Transport Layer
Layer 3 Network Layer
Layer 2 Data Link Layer
Layer 1 Physical Layer
3.Application Layer เป็นการสื่อสารในระดับแอปพลิเคชั่น เช่น
- เบราเซอร์ โปรแกรมอีเมลไคลเอนต์ และโปรแกรม Telnet
4.Presentation Layer เป็นโปรโตคอลควบคุมเกี่ยวกับรูปแบบของข้อมูลที่จะถูกนำเสนอเช่น
- รูปแบบรหัส ASCII และ JPEG
5.Session Layer ทำหน้าที่จัดการข้อมูลในระดับเซสซัน เช่น
- เซสซันของ SQL Server เพื่อจัดเตรียมข้อมูลส่งต่อให้กับ Layer 6 และ วิธีการส่งข้อมูล ได้แก่ Simplex , Half Duplex , Full Duplex
6.สาย UTP ที่ใช้กับระบบแลนทั่ว ๆ ไป จะประกอบด้วย
- ซึ่งใช้หัวต่อแบบ RJ-45 ซึ่งมีทั้งหมด 8 ขา สายแบบนี้ที่เข้าหัวไว้แล้วจะหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือจะซื้อแบบเป็นม้วนมาตัดเข้าหัวเองก็ได้ แต่ต้องมีเครื่องมือหรือคีมเข้าหัว RJ-45 โดยเฉพาะ มีข้อจำกัดคือ จะต้องยาวไม่เกิน 100 เมตร จากเครื่องไปยัง Switch และแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ
• สายตรง (Straight-through Cable) คือสายปกติที่ใช้เชื่อมระหว่างการ์ด LAN และ Hub / Switch
• สายไขว้ (Crossover Cable) ใช้ต่อการ์ด LAN บนคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องหรือพอร์ตของ Hub หรือ Switch 2 ตัวโดยตรง เพื่อเพิ่มขยายพอร์ต ซึ่งวิธีการเข้าหัวจะต่างจากปกติ
7.อธิบายความหมายของศัพท์ต่อไปนี้
7.1.สายไฟเบอร์ออปติก (Fiber-Optic)
- สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีแบนด์วิดท์ (BW) ได้กว้างถึง 3 จิกะเฮิรตซ์ (1 จิกะ = 109) และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง 1 จิกะบิตต่อวินาที ภายในระยะทาง 100 กม. โดยไม่ต้องการ เครื่องทบทวนสัญญาณเลย สายไฟเบอร์ออปติกสามารถ มีช่องทางสื่อสาร ได้มากถึง 20,000-60,000 ช่องทาง สำหรับการส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ ไม่เกิน 10 กม. จะสามารถมีช่องทางได้มากถึง 100,000 ช่องทางทีเดียว
7.2.รีพีตเตอร์ (Repeater)
- ในระบบ LAN โดยทั่วไปนั้นยิ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอยู่ไกลกันมากเท่าไร สัญญาณที่ส่งถึงกันก็จะเริ่มเพี้ยน และจางลงจนหายไปในที่สุด ซึ่งเมื่อสายที่ต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มีความยาวเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด ก็จะต้องมีการเพิ่มอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า รีพีตเตอร์ ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ทวนสัญญาณ คือช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งบนสาย LAN ให้แรงขึ้นและจัดรูปสัญญาณที่เพี้ยนไปให้กลับเหมือนเดิม จากนั้นจึงค่อยส่งต่อไป
7.3.สวิตช์ (Switch)
- เป็นอุปกรณ์เครือข่ายเช่นเดียวกันกับฮับ ( hub) และมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่ ในแต่ละพอร์ต (port) จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่า เช่น สวิตช์ที่มีความเร็ว 10 Mbps นั้น จะหมายความว่า ในแต่ละพอร์ตจะสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 10 Mbps และนอกจากนั้นเครื่องทุกเครื่องที่ต่อมายังสวิตช์ยังไม่ได้อยู่ใน Collision Domain เดียวกันด้วย (ซึ่งถ้าฮับจะอยู่) นั่นหมายความว่าแต่ละเครื่องจะได้ครอบครองสายสัญญาณแต่เพียงผู้เดียว จะไม่เกิดปัญหาการแย่งสายสัญญาณ และการชนกันของสัญญาณเกิดขึ้น7.4.เร้าเตอร์ (Router)