วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิชา พื้นฐานการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และ การประมวลผล เพื่อสร้างการทำงานและความสัมพันธ์ของการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างองค์กรธุรกิจ เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต้นทุนที่ต่ำลง โครงสร้างพื้นฐานของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์คือการโอนย้ายรายการ ( transaction ) เกี่ยวกับสินค้าและบริการ การดำเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อาจดำเนินการระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ(B-B = Business to Business) ระหว่างธุรกิจกับกับลูกค้า(B-C = Business to Customer) หรือระหว่างลูกค้ากับลูกค้า(Customer to Customer) และในสหรัฐอเมริกายังมีการปรับเทคโนโลยีทางทหารให้กลายเป็นธุรกิจที่เรียกกันว่า M to B(Military to Business) ด้วย
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบการทำธุรกิจ
1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ อาทิ ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น
2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค อาทิ การขายสินค้าอุปโภคบริโภค
3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G) หมายถึงธุรกิจการบริหารการค้าของ ประเทศ เพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล
4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) หมายถึงธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ลดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมทั้งค่าเช่าพื้นที่ขายหรือการลงทุนในการสร้างร้าน ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนของธุรกิจต่ำลง
2. ประหยัดเวลาและขั้นตอนทางการตลาด
3. เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง และให้บริการได้ทั่วโลก
4. ช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5. สามารถทำกำไรได้มากกว่าระบบการขายแบบเดิม เนื่องจากต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ได้กำไรจากการขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
6. สามารถนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ในลักษณะ Interactive Market
7. ปรับปรุงหรือ Update ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา
8. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ซื้อหรือลูกค้า อาทิ ชื่อ ที่อยู่ พฤติกรรม การบริโภค สินค้าที่ต้องการ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการทำวิจัยและวางแผนการตลาด เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น
9. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์กร ในเรื่องของความทันสมัยและเป็นโอกาสที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก
10. สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วและเสียเวลาน้อย

ข้อดีของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. สามารถเข้าหาลูกค้าได้โดยตรง เสียค่าใช้จ่ายต่ำ เนื่องจากต้องผ่านคนกลาง
2. สามารถขายสินค้าในราคาที่ต่ำลง เนื่องจากต้นทุนต่ำลง
3. ทำให้สามารถขยายตลาดได้กว้างและเร็วขึ้น
4. เหมาะสำหรับธุรกิจที่เป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าใหม่หรือยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วไป

วิธีการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. การฝากสินค้าขายของบน Shopping Mall (เป็นศูนย์รวมการขายสินค้าขนาดใหญ่บนอินเตอร์เน็ตคล้ายกับศูนย์การค้า) เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีเงินลงทุนน้อย และสินค้าไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไป ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก เสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องประชาสัมพันธ์หรือ Update ข้อมูลต่างๆ โดยวิธีการลงโฆษณา ติดประกาศขาย หรือการประมูลสินค้า ทั้งในรูปแบบของการขายส่งและขายปลีก
2. สร้าง web Site ของตัวเอง เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีเงินลงทุน และมีเครื่องหมายการค้าของตัวเอง ถึงแม้ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และต้อง Update ข้อมูลต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แต่สามารถจัดหน้าร้าน และให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวสินค้าเพื่อช่วยการตัดสินใจของผู้ซื้อได้มากกว่า นอกจากนี้ยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการคิดค่าบริการในการลงโฆษณาสินค้า

แบบฝึกหัดที่ 1 เรื่องลีนุกซ์
1.ลีนุกซ์คืออะไร
-ลีนุกซ์ (Linux) เป็นชื่อระบบปฏิบัติการประเภทหนึ่ง (Operating System) หรือ OS คือเป็นโปรแกรมประเภท Open Source มีหน้าที่ในการช่วยให้โปรแกรมอื่น ๆ สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยระบบปฏิบัติการจะเป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์
2.ความเป็นมาของลีนุกซ์เป็นอย่างไร
-ผู้พัฒนาลีนุกซ์คนแรก นายไลนัส ทอร์วัลดระบบปฏิบัติการที่ชื่อ มินิกซ์ (Minix) เป็นระบบยูนิกซ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ไลนัสเห็นว่ามินิกช์ยังใช้งานได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใหม่โดยใช้ยูนิกช์เป็นต้นแบบภายใต้ชื่อว่า ลีนุกซ์ โดยไลนัสเลือกใช้ นกเพนกวิน ชื่อ “Tux” เป็นสัญลักษณ์นำโชคของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
3.ประโยชน์ของลีนุกซ์มีอะไรบ้าง
ความปลอดภัยในการทำงาน มีความเสถียรภาพในการทำงาน ใช้เครื่องคอพิวเตอร์สเปคต่ำ
4.โครงสร้างของลีนุกซ์มีอะไรบ้าง
-ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
-เคอร์เนล (Kernel)
-เซลล์ (Shell)
-โปรแกรมประยุกต์ (Application)
5.เคอร์เนล (Kernel) คืออะไร
เป็นส่วนที่สำคัญของระบบ เรียกว่า เป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริหารโพรเซสงาน (Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต เอาต์พุต บริหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนไปเคอร์เนลก็จะเปลี่ยนไปด้วย
6.เซลล์ (Shell) คืออะไร
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเช่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เซลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาต์พุตได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด
7.ระบบวินโดวส์ (Window) บนลีนุกซ์มีอะไรบ้าง (ค้นหาเพิ่มเติมให้มากที่สุด)
ลีนุกซ์ทะเล ลีนุกซ์อูบุนตู ลีนุกซ์ Redhat
8.ระบบ X Window คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร
ทำหน้าที่ในการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล (ทำหน้าที่เหมือนกับเชลล์) แต่จะอยู่ในรูปแบบของวินโดวส์ ประกอบด้วยหน้าต่างการทำงานของโปรแกรม ปุ่ม ไอคอน และเมนู สั่งงานด้วยเมาส์คลิก ทำให้การทำงานสะดวกและง่ายขึ้น
9. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของลีนุกซ์ต้องเตรียมอะไรบ้าง
1.ตรวจสอบข้อมูลฮาร์ดแวร์ของระบบ
2.เตรียมพื้นที่สำหรับลีนุกซ์
10. ลีนุกซ์แบบ Text Mode เป็นอย่างไร มีรุ่นใดบ้าง
การใช้คอมพิวเตอร์ของเราที่กำลังใช้งานอยู่ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า Host ทำการเชื่อมต่อไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมายในอินเตอร์เน็ต ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าเครื่อง Remote และเมื่อทำการเชื่อมต่อกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถทำงานที่เครื่อง Host โดยการทำงานนั้นเสมือนหนึ่งนั่งทำงานอยู่ที่หน้าเครื่อง Remote ทุกประการ โปรแกรมที่ใช้งานได้แก่ telnet และ ssh(Secure shell) ปัจจุบันตัว telnet daemon มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ดังนั้นผู้ใช้ส่วนใหญ่จึงหันมาใช้ secure shell แทน
รุ่น

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 1

การ์ดเน็ตเวิร์ก (Network Interface Card)
ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า “การ์ดแลน” นั้นมีหน้าที่ในการที่จะนำเฟรมข้อมูล ส่งลำเลียงไปตามสายนำส่งสัญญาณ ซึ่งมันจะแปลงเฟรมข้อมูลให้เป็นข้อมูลระดับบิต (bit) เสียก่อน โดยส่วนมากแล้วมักจะใช้การ์ดเน็ตเวิร์กแบบ Ethernet ซึ่งจะมีความเร็วในการรับส่ง 10 เมกะบิตต่อวินาที และใช้ Fast Ethernet ที่มีความเร็วในการรับส่งสูงถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที


สาย TP (Twisted Pair)
เป็นสายคู่ตีเกลียวบิดไขว้กันไปตลอดแนวความยาว เพื่อลดการรบกวนจากสัญญาณภายนอก แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบที่มีชีลห่อหุ้ม ซึ่งเรียกว่า STP (Shield Twisted Pair) และแบบที่ไม่มีชีลห่อหุ้มซึ่งเรียกว่า UTP (Unshield Twisted Pair)



สายโคแอคเชียล (Coaxial)
เป็นสายที่มีลักษณะคล้ายกับสายที่ต่อระหว่างเครื่องรับโทรทัศน์กับเสาอากาศ ซึ่งโครงสร้างของมันจะประกอบด้วยแกนทองแดงตรงกลางและมีฉนวนหุ้ม

สายไฟเบอร์ออปติก (Fiber-Optic)
เป็นสายนำสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลในรูปของแสง โครงสร้างภายในจะเป็นท่อเล็ก ๆ ที่ทำมาจากแก้ว ซึ่งทำหน้าที่สะท้อนแสง แสงที่เดินทางจากต้นทางไปยังปลายทางจะไม่สะท้อนออกมาข้างนอก แต่จะสะท้อนไปมาภายในตลอดแนวความยาว ซึ่งใช้หลักการของดัชนีการหักเหของแสง สายไฟเบอร์ออปติกจะสามารถส่งสัญญาณได้เร็วกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที และจะไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าจากภายนอกแต่ข้อเสียของมันก็คือมีราคาแพง



ฮับ (Hub)
เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นได้บ่อย เนื่องจากฮับใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอีเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology) โดยใช้สาย UTP ต่อเชื่อมระหว่างการ์ดเน็ตเวิร์กบนเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับฮับ โดยเชื่อมต่อทางช่องเสียบ RJ-45 ซึ่งการต่อระบบแลนลักษณะนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดปัจจุบัน ฮับจะมีช่องเสียบ RJ-45 ตัวเมียอยู่หลายช่อง เพื่อใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ถ้ายิ่งมีช่องเสียบมากก็จะยิ่งต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ได้มาก แต่ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย การทำงานของฮับนั้นก็คล้าย ๆ กับรีพีตเตอร์ คือมันจะทำซ้ำและเพิ่มความแรงของสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วส่งออกไปยังพอร์ต (ช่องเสียบ) ที่เหลือ แต่จะต่างกันตรงที่ฮับมีพอร์ตมากกว่ารีพีตเตอร์ ข้อดีของฮับคือมีราคาถูก แต่ข้อเสียคือเรื่องการชนกัน (Collision) ของข้อมูล (เนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับฮับจะอยู่ในคอลลิชันโดเมนเดียวกัน) ถ้ายิ่งต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ก็ยิ่งทำให้โอกาสที่จะเกิดการชนกันของข้อมูลสูง ซึ่งทำให้ความเร็วโดยรวมของระบบช้าลง


บริดจ์ (Bridge)
สร้างขึ้นมาเพื่อลดปัญหาการชนกันของข้อมูลที่เกิดจากการใช้ฮับ โดยบริดจ์จะสามารถแบ่งคอลลิชันโดเมนให้มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ในแต่ละคอลลิชันโดเมนเหลือจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยลง จึงทำให้โอกาสที่จะเกิดการชนกันของข้อมูลได้น้อยลงตามไปด้วย ปัจจุบันบริดจ์ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายกันแต่ดีกว่า ซึ่งก็คือสวิตช์

สวิตช์ (Switch)
สวิตช์ทำงานเหมือนกับบริดจ์ เพียงแต่มีพอร์ตมากกว่า ซึ่งจำนวนพอร์ตจะมากพอ ๆ กับฮับ สวิตช์จะมีหน้าตาคล้ายกับฮับมาก แต่การทำงานจะแตกต่างกัน สวิตช์จะเลือกส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ดังนั้น จึงไม่มีโอกาสเกิดการชนกันของข้อมูล ทำให้ประสิทธิภาพด้านความเร็วของเครือข่ายสูงขึ้นมาก และเนื่องจากในปัจจุบันราคาของสิวตช์ถูกลงมาก จึงมีหลายหน่วยงานที่นำสวิตช์ไปใช้แทนฮับเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านความเร็วของเครือข่าย และนอกจากนั้นสวิตช์ยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของความปลอดภัยจากการแบดักจับข้อมูลอีกด้วย ซึ่งจะได้กล่าวในบทต่อไป




เร้าเตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างเครือข่าย ซึ่งโดยส่วนมากมักจะใช้เร้าเตอร์เพื่อเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายแลนภายในองค์กรกับอินเทอร์เน็ต หรือเชื่อมระหว่างศูนย์กลางกับสาขา เป็นต้น


ไฟร์วอลล์ (Firewall)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มระดับความปลอดภัยให้กับเน็ตเวิร์ก โดยมันจะเป็นตัวขั้นระหว่างเน็ตเวิร์กภายในหน่วยงานกับเน็ตเวิร์กภายนอกเช่น อินเทอร์เน็ต และคอยป้องกันแพ็กเก็ตอันตรายไม่ให้วิ่งเข้ามายังเน็ตเวิร์กภายในได้ ซึ่งระดับความปลอดภัยนั้นจะขึ้นอยู่กับ Access Rule ที่ผู้ดูแลระบบตั้งไว้ว่ารัดกุมเพียงใด ไฟร์วอลล์ไม่ได้ช่วยป้อนกันแฮกเกอร์ (hacker) ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มันก็ช่วยทำให้แฮกเกอร์ต้องทำงานลำบากขึ้น ซึ่งผู้เขียนก็เคยนำเสนอวิธีการที่แฮกเกอร์ใช้แฮก Windows 2000 ผ่านทาง IIS โดยที่ไฟร์วอลล์ป้องกันไม่ได้ไปแล้วในหนังสือ Hack Step by Step



โปรโตคอล (Protocol)
การที่คอมพิวเตอร์ 2 เครื่องจะสื่อสารกันได้นั้น จะต้องใช้ภาษากลางในการสื่อสารกันซึ่งเรียกว่า โปรโตคอล ปัจจุบันโปรโตคอลมีมากมายหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของระบบ ว่าต้องใช้โปรโตคอลอะไรเมื่อเวลาใด เช่นเมื่อมีผู้ใช้จากเครื่องไคลเอนต์มาขอรับอีเมล์จากเมล์เซิร์ฟเวอร์ด้วยโปรโตคอล POP3 ตัวเมล์เซิร์ฟเวอร์ก็จะต้องพูดจาภาษาโปรโตคอล POP3 กับเครื่องไคลเอนต์ด้วยเช่นกัน



CSMA / CD
เป็นโปรโตคอลในระบบเครือข่าย Ethernet เป็นระบบแลนชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ใช้เมื่อการ์ดเน็ตเวิร์กต้องการจะส่งข้อมูลออกไปตามสายเพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูล การ์ดเน็ตเวิร์กจะทำการเงื่ยหูฟังสักระยะหนึ่งก่อนว่าสายส่งว่างแล้วหรือยัง เมื่อไม่มีใครส่งข้อมูลมันก็จะทำการส่งข้อมูลออกไปตามสายสัญญาณและคอยเงี่ยหูฟังอยู่เป็นระยะ ๆ เมื่อพบว่ามีการชนกันของข้อมูลมันจะหยุดส่งทันที แล้วสุ่มช่วงเวลาเพื่อส่งข้อมูลใหม่อีก เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามที่ชนกับเราก็ใช้โปรโตคอล CSMA / CD เช่นกัน ดังนั้นใครที่สุ่มช่วงเวลาได้น้อยกว่าคนนั้นก็จะได้ส่งก่อน



ARP
เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งตามไอพีแอดเดรสที่ระบุ (ไอพีแอดเดรสเป็นตัวที่ใช้บ่งบอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเน็ตเวิร์ก แต่ไอพีแอดเดรสจะอยู่ในระดับที่สูงกว่า MAC Address นั่นคือไอพีแอดเดรสอยู่ในระดับที่ห่างไกลจากระดับการทำงานทางกายภาพ เช่น การส่งสัญญาณไฟฟ้ามากกว่า MAC Address) การ์ดเน็ตเวิร์กผู้ที่จะต้องส่งเฟรมข้อมูลไปยัง MAC Address ของการ์ดเน็ตเวิร์กบนเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง จำเป็นที่จะต้องทราบว่าถ้าต้องการส่งไปยังไอพีแอดเดรสนี้ ต้องส่งไป MAC Address หมายเลขอะไร ดังนั้นจึงต้องมีโปรโตคอลที่ใช้ในการค้นหาคำตอบดังกล่าว ซึ่งโปรโตคอลนั้น ก็ถูกนักคอมพิวเตอร์คิดค้นขึ้นมาแล้วได้รับการตั้งชื่อว่า (ARP: Address Resolution Protocol) การทำงานของ ARP คือ เริ่มจากผู้ส่งทำการตรวจสอบในตารางข้อมูล ARP ของตนเองก่อน ถ้าไม่มีข้อมูล MAC Address ของปลายทางก็จะส่งคำร้องขอ (ARP Request) กระจายแบบบรอดคาสต์ออกไป คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะได้รับคำร้องขอนี้ แล้วแต่ละเครื่องก็จะนำไอพีแอดเดรสที่ต้นทางส่งมา ทำการเปรียบเทียบกับไอพีแอดเดรสของตนเอง ถ้าตรงกับของตนเองก็จะส่งคำตอบรับ (ARP Reply) กลับไปยังต้นทาง ซึ่งข้อมูลที่ส่งตอบรับกลับไปจะมีหมายเลข MAC Address ของตนเองด้วย พร้อมทั้งเก็บไอพีแอดเดรส และ MAC Address ของผู้ส่งไว้ในตารางข้อมูล ARP ของตนเองด้วย



PPP (Point to Point Protocol)
PPP เป็นโปรโตคอลแบบจุดต่อจุดชนิดหนึ่ง มักใช้กับเครือข่าย WAN ซึ่ง PPP ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อชดเชยข้อบกพร่องหลายอย่างของโปรโตคอล SLIP เช่น SLIP ไม่สามารถรับรองความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และไม่สามารถกำหนดไอพีแอดเดรสโดยอัตโนมัติได้ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งานโปรโตคอล PPP ก็อย่างเช่น เมื่อเราทำการ Dial ไปยัง ISP เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นต้น



IP (Internet Protocol)
IP เป็นโปรโตคอลในระดับชั้นเน็ตเวิร์ก ซึ่งทำหน้าที่กำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นตัวที่บ่งบอกให้เร้าเตอร์ทราบว่าควรจะส่งแพ็กเก็ตนี้ไปเส้นทางใด โปรโตคอล IP จะมีลักษณะเป็น Unreliable และ connectionless ซึ่ง unreliable หมายถึงโปรโตคอล IP ไม่มีกลไกที่จะรับประกันว่าข้อมูลส่งถึงปลายทางได้สำเร็จ ส่วน connectionless หมายถึงไม่มีการสถาปนาการเชื่อมต่อ ดังนั้นการที่จะให้ข้อมูลเชื่อถือได้จึงตกเป็นหน้าที่ของโปรโตคอลระดับบนเช่น TCP เป็นต้น



UDP
เป็นโปรโตคอลชั้นที่อยู่สูงกว่าโปรโตคอล IP โปรโตคอล UDP เป็นโปรโตคอลที่เชื่อถือไม่ได้ เพราะถ้าข้อมูลหายระหว่างทางข้อมูลจะไม่ถูกนำส่งใหม่ UDP มักจะถูกนำมาใช้กับงานทางด้าน Multimedia เช่นส่งภาพและเสียง ซึ่งถ้าภาพที่ต้องการส่งมีการสูญหายของข้อมูลไปสัก 2 หรือ 3 pixel (จุดสี)เราก็ยังเห็นเป็นภาพอยู่ดี ข้อดีของ UDP ก็คือ ได้เปรียบด้านความเร็ว เพราะขั้นตอนของมันจะไม่ยุ่งยากเหมือนกับ TCP

สัปดาห์ที่ 1 วันพุธที่ 20 ตุลาคม 2553

วิชาความปลอดภัยโครงข่าย
(แบบทดสอบก่อนเรียน)
1. ค.ระบบที่มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 2 ตัว ขึ้นไปเพื่อสามารถรับส่งข้อมูลกันได้
2. ก.ฮาร์ดแวร์ สื่อกลางนำข้อมูล ซอฟต์แวร์
3. ง.Microsoft Windows XP
4. ข.สายขนาดเล็ก มี 6 เส้น
5. ง.ถูกทั้ง ข. และ ค.
6. ข.เป็นระบบ LAN ต่อในแบบ Ring
7. ค.ส่งเป็นสัญญาณแบบดิจิตอล 0 และ 1
8. ง.การผสมสัญญาณที่จะส่งเข้ากับสัญญาณ อนาล็อก
9. ง.Fiber Optic
10. ค.สายที่ต่อเข้ากับฮับ
11. ง.ถูกทุกข้อ
12. ข.ใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สาย
13. ค.รับส่งข้อมูลแบบโครงข่ายโดยตรง
14. ค.รวมสัญญาณ
15. ก.เป็นสะพาน