วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


.6บทที่ 2


ความหมายของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ (Computer) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่าน รับคำสั่ง แก้ไขปัญหา คำนวณ แสดงผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ความสำคัญของคอมพิวเตอร์คือ ความสามารถประมวลผลข้อมูลได้อัตโนมัติตามโปรแกรมที่มนุษย์สั่ง และแสดงผลลพธ์ออกมาทางอุปกรณ์แสดงผล โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลคือข้อมูลหรือสารสนเทศ (Information)


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์


เพื่อให้ผู้ที่ห่างไกลสามารถเข้ามาใช้และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่าย เช่น การเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็จ อำนวยความสะดวกในการทำงาน เช่น ควบคุมและตรวจสอบสินค้าคงคลังบันทึกข้อมูลและเรียกดูประวัติของนักเรียน นักศึกษา ดูแลระบบให้บริการลูกค้า เป็นต้น


(Electronic)มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น


E-Banking ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์


E-Service บริการออนไลน์


E-Learning การเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์


E-Society การพัฒนาด้านสังคม


E-Government การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์ในการบริการ


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ที่นิยมเอาไปใช้ในงานด้านต่าง ๆ


1. คอมพิวเตอร์กับการใช้งานของภาครัฐ คือ การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้งานทะเบียนราษฎร์ เช่น แจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่


2. คอมพวเตอร์กับงานธุรกิจทั่วไป คือ การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเพื่อประโยชน์ของการประมวลผลที่รวดเร็ว


3. คอมพิวเตอร์กับงานสายการบิน คือ การนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เกี่ยวกับเรื่องของการสำรองที่นั่งผู้โดยสาร


4. คอมพิวเตอร์กับงานด้านการศึกษา คือ ปัจจุบันสถาบันต่าง ๆ ได้เน้นให้ความสำคัญกับการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนหรือที่เรียกกันว่า E-Education


5. คอมพิวเตอร์กับธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการนำเข้าและการส่งออกสินค้า (Import/Export)


6. คอมพิวเตอร์กับงานธนาคาร เป็นธุรกิจที่แข่งขันกันมากด้านบริการโดยนำคอมพิวเตอร์มาช่วยด้านการให้บริการที่เรียกกันว่า "ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์"(E-Banking) เพื่อความสะดวกสะบายรวดเร็ว ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้หลาย ๆ ช่องทางที่ธนาคารเปิดให้บริการ


7. คอมพิวเตอร์กับงานวิทยาศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ให้มีความแม่นยำและถูกต้องหน้าเชื่อถือ ช่วยในเรื่องของการทดลองและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คำนวณ และจำลองแบบ


8. คอมพิวเตอร์กับงานการแพทย์ มีการนำเอาเครื่องมืออุปกรณ์สมัยใหม่นำมาทำงานร่วมกันกับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคและตรวจสอบอาการของคนไข้ได้อย่างดี


ประเภทของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปอาจจำแนกประเภทออกได้ 2 กลุ่มดังนี้


1. แบ่งตามลักษณะของข้อมูล มี 3 ประเภท คือ


1.1 อนาล็อกคอมพิวเตอร์ (Anolog Computer) เป็นคอมพิวเตอรืที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษใช้กับงานเฉพาะอย่าง การทำงานใช้หลักการวัดข้อมูลที่ป้อนเข้าไปต้องเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าที่มีค่าต่อเนื่อง ซึ่งค่าสัญญาณไฟฟ้าอาจแทนอุณภูมิความเร็วหรือความดัน


1.2 ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digtal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักการนับ ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปต้องเป็นตัวเลขและให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลขดิจิตอล


1.3 ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะอย่าง การทำงานจะใช้เทคนิคของอนาล็อกและดิจิตอลมาผสมกัน เช่น การส่งยานอวกาศจะต้องใช้เทคนิคการคำนวณของอนาล็อกควบคุมการหมุนของตัวยานอวกาศ


2. แบ่งตามขนาดและความสามารถ มี 5 ประเภท คือ


2.1 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงที่สุด และราคาแพงที่สุด เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง สามารถทำการประมวลผลในงานต่าง ๆ กันในเวลาพร้อมกัน ภายใน 1 นาที ถ้าเทียบกับการทำงานของเครื่องพีซีอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์


2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างด้วยความเร็วสูงใช้ในงานธุรกิจขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัย ธนาคาร และโรงพยาบาล สามารถเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก ๆ เช่น การสั่งจองที่นั่งของสายการบิน


2.3 มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กับงานเฉพาะอย่าง เช่น ใช้ในการสื่อสารข้อมูลปัจจุบันมินิคอมพิวเตอร์เป็นคู่แข่งกับเครื่องเมนเฟรมในด้านประสิทธิภาพด้านการทำงาน และถูกนำมาใช้ในงานประมวลผลคำ


2.4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีราคาถูก มักเรียกไมโครคอมพิวเตอร์ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เครื่องพีซี


2.5 คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) คอมพิวเตอร์มือถือมีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยที่บริษัท แอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์เสนอคอมพิวเตอร์ชื่อ "นิวตัน" เมื่อประมาณ 7-8 ปีที่แล้ว คอมพิวเตอร์นิวตันไม่ประสบความสำเร็จในการขาย แต่ก็เป็นจุดริเริ่มแนวโน้มว่าคอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง บริษัท 3com ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ออกผลิตคอมพิวเตอร์มือถือให้ชื่อทางการว่า "ปาล์ม"เป็นคอมพิวเตอร์มือถือขนาดเล็ก แต่มีขีดความจำกัด มีหน่วยความจำไม่มาก


4.คอมพิวเตอร์ยุคใหม่


ในปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ และนำมาใช้งานที่สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จากเดิมบางหน่วยงานนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการพิมพ์เอกสารหรืองานสำนักงาน โดยไม่ได้คำนึงถือการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย แต่ปัจจุบันได้พัฒนาให้สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจึงสามารถโอนถ่ายข้อมูลถึงกันได้อย่างรวดเร็วภายใต้ระบบการสื่อสารที่ดีขึ้นโดยเฉพาะบทบาทของเทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน


นอกจากโน๊ตบุ๊คยุคใหม่ ยังมีไมโครคอมพิวเตอร์รูปแบบต่าง ๆ สามารถจำแนกออกได้หลายแบบดังนี้


1.เดสก์ท๊อป (Desktop) เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่ใช้ในสำนักงานหรือตามบ้านทั่วไป นิยมใช้สำหรับพิมพ์ รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็จ ปัจจุบันเน้นรูปแบบที่ดูสวยงามน่าใช้มากยิ่งขึ้นและมีราคาที่ถูกลง


2. โน้ตบุ๊คยุคใหม่ (Notebook) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ใช้ออปติคอลไดรว์แบบภายนอกแทนที่จะอยู่ในตัวเครื่อง ทำให้สามารถพกพาได้สะดวกมากขึ้น


3. เดสก์โน้ต หรือเพาว์เวอร์โน้ต (Desknote) เป็นคอมพิวเตอร์พกพา ที่มีรูปลักษณ์คล้ายกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ลักษณะแบบเดสก์โน้ตเปรียบเสมือนการย่อส่วนเครื่องพีซีที่ใช้งานตามบ้านหรือสำนักงานในปัจจุบันให้มีขนาดเล็กลง


ความแตกต่างระหว่างเดสก์โน้ตกับโน้ตบุ๊ค


(1.) แบตเตอรี่เดสก์โน้ตได้ถูกออกแบบให้มีการนำแบตเตอรี่ออกมาไว้ด้านนอกทำให้ต้องเสียบปลั๊กตลอดเวลาที่ใช้งาน


(2.) ซีพียูของเดสก์โน้ตใช้ซีพียูประเภทเดียวกับพีซีทั่วไป ทำให้สามารถเลือกที่อัพเกรดรุ่นได้ในราคาที่ไม่สูงนัก


(3.) การ์ดแสดงผล ส่วนใหญ่จะติดตั้งมาให้ในเครื่องและไม่สามารถทำการอัพเกรดได้


(4.) เดสก์โน้ตมีราคาถูกกว่าโน้ตบุ๊ค


(5.) เดสก์โน้ตจะไม่มี Floppy Disk Drive ติดตั้งภายในเครื่อง หากผู้ใช้ต้องการสามารถเพิ่มเติมได้


4. แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ปากกาเขียนลงไปบนหน้าจอได้เลยนั่นเอง โดยจะต้องมีซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อใช้ในเครื่องแบบนี้โดยเฉพาะ รูปแบบของเครื่องสามารถพลิกหน้าจอได้ และมีราคาค่อนข้างแพง


5. PDA: พีดีเอ (Personal Digital Assistants) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึก เก็บข้อมูล เตือนเวลานัดหมาย ได้สะดวกและรวดเร็ว รวมไปถึงความสามารถของการเพิ่มเติมแอปพลิเคชั่น เพื่อให้ใช้งานด้านอื่น ๆ ตามลักษณะการใช้งานและระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้งอยู่ในเครื่องพีดีเอนั้น ๆ ซึ่งหลัก ๆ ที่รู้จักก็จะมัชีพีดีเอที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm OS หรือที่เรียกว่า Palm และ PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Mobile


6. สมาร์ทโฟน (Smart Phone) คือการพัฒนาโทรศัพท์ธรรมดาให้กลายเป็นอัจฉริยะนั่นเอง นอกจากรับสายเข้าหรือโทรออกแล้ว ยังสามารถถ่ายรูป เล่นอินเตอร์เน็จ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ถูกย่อเข้าให้อยู่ในรูปของมือถือ


Smart Phone สามารถแบ่งตามประเภทของระบบปฏิบัติการ (Operation System: OS) ได้ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้


1. Symbian OS คือ ระบบปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายและสามารถใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลักในการรับส่งข้อมูล


2. Microsoft Smart Phone เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบและจัดทำขึ้นมาโดยบริษัท Microsoft เพื่อให้สามารถรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายเพื่อให้สารมารถใช้งานกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก เช่น มีโปรแกรมมาตรฐานของวินโดวส์


5.คอมพิวเตอร์ในอนาคต


ในอนาคตคอมพิวเตอร์ได้หยุดเพียงแค่ให้มีขนาดเล็ก ราคาถูก หรือรูปลักษณ์แปลกที่น่าใช้เท่านั้น หากแต่ยังคิดค้นพัฒนาขีดความสามารถให้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากยิ่งขึ้นศาสตร์ทางด้านการผลิต หรือ AI (Artificial Intelligence) ได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างปัญญาเทียมเลียนแบบการคิดหรือสมองของมนุษย์ซึ่งใช้ในงานหลาย ๆ ด้าน


หุ่นยนต์ หรือโรบอต (Robot) คือเครื่องจักรกล ชนิดหนึ่งที่ใช้งานแทนมนุษย์ ที่ออกแบบให้สามารถตั้งลำดับการทำงานการใช้งานได้หลากหลายหน้าที่ ใช้เคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ ส่วนประกอบต่าง ๆ


ประโยชน์และความสามารถของหุ่นยนต์


1.ความสมารถด้านการแพทย์ นำหุ่นยนต์แขนกลเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยทำการผ่าตัดคนไข้


2.ความสามารถในงานวิจัย หุ่นยนต์สามารถทำการสำรวจงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ร่วมกับมนุษย์ เช่น งานสำรวจใต้น้ำ


3.ความสามารถในงานอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เริ่มมีบทบาททางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในขณะที่งานด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการด้านแรงงานเป็นอย่างมาก การจ้างแรงงานจำนวนมากเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมทำให้ต้นทุนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มจำนวนขึ้น


4.ความสมารถในงานด้านบริการ หุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นคนรับใช้เพื่อคอยทำงานทั่วไปให้กับเจ้าของบ้าน หุ่นยนต์สุนัขไว้ให้คนเลี้ยง


6.ปัญหาและข้อจำกัดของการใช้งานคอมพิวเตอร์


1.คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้ 100%


2.แม้จะมีความสมารถในเรื่องการคิดตัดสินใจแทนมนุษย์แต่เป็นเพียงบางเรื่องหรือบางกรณีเท่านั้น


3.ได้รับข้อมูลอย่างไรก็ประมวลผลไปตามนั้น


ปัญหาของการใช้งานคอมพิวเตอร์ ที่พบมากที่สุด


1.ความรู้ไม่ทันเทคโนโลยี ผู้ใช้ที่ขาดทักษะบางประการหรือไม่ติดตามข่าวสาร


2.ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การโกงหรือหลอกลวงข้อมูล


3.มนุษย์ต้องรู้จักเลือกใช้คอมพิวเตอร์ให้ถูกวิธี


4.ติดตามข่าวสารเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ


5.ตระหนักถึงจริยธรรมในการใช้งานโดยทั่วไปที่จะไม่สร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น


















วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
"เทคโนโลยีสารสนเทศ" (Information Techmology) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ไอที"
"เทคโนโลยีสารสนเทศ"ซึ่งแต่ละคำมีความหมายดังนี้
1.1"เทคโนโลยี" (Technology) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ
1.2"สารสนเทศ"(Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ จากแหล่งต่าง ๆ นำมาคำนวณทางสถิติหรือผ่านกระบวนการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการเรียกว่า"สารสนเทศ"
1.3"เทคโนโลยีสารสนเทศ"หมายถึงการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการโดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ
"เทคโนโลยีสารสนเทศ" ประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีหลัก 2 สาขา
สาขาที่ 1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเก็บบันทึก ข้อมูลการประมวลผลข้อมูลการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการ
สาขาที่ 2 เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม หมายถึง ช่วยทำให้การเผลแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศง่ายมากยิ่งขึ้น

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. เทคโนโลยีช่วยเสริมปัจจัยพื้นฐาน
2. เทคโนโลยีช่วยทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3. เทคโนโลยีช่วยทำให้การผลิตสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น
4. เทคโนโลยีช่วยทำให้ระบบการผลิต สามารถผลิตสินค้าทำได้จำนวนมาก
5. เทคโนโลยีช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว

องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆต่อเชื่อมกันเรียกว่า "ฮาร์ดแวร์"
"ฮาร์ดแวร์" ประกอบด้วย 5 ส่วนคือ
1. อุปกรณ์รับข้อมูล
2. อุปกรณ์แสดงผล
3. หน่วยประมวลผลกลาง
4.หน่วยความจำหลัก
5.ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมาก ซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
5.1ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์
5.2ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. ซอฟตืแวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
3.ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ
2.เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลบยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศได้แก่เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบคมนาคมทั้งมีสายและไร้สายสำหรับกลไกลหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วนได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ สื่อกลางสำหรับการรับส่งข้อความและส่วนรับข้อความ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบคือ
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
2.เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล
3.เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล
4.เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล
5.เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร
6.เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื่องจากองค์ประกอบต่าง ๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการพัฒนาให้มีความสามารถและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้องค์การธุรกิจต้องนำความสามารถและความรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในงานด้านต่าง ๆ
ตัวอย่างประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์กร
1.ช่วยเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการทำงาน
2.ช่วยจัดระบบสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายให้มีระเบียบ
3.ช่วยให้การสื่อสารมีความรวดเร็วมากขึ้น
4.เทคโนโลยีสารสนเทศบางอย่างเป็นอัตโนมัติ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้จากแหล่งอื่น
5.ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้
6.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
7.ช่วยลดจำนวนบุคลากรในการประมวลผลและผลิตสารสนเทศ

การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปุจจุบัน คือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในธุรกิจ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็จโดยเน้นด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสืทธิภาพสูงสุดอีกทั้งข้อมูลที่ได้รับจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของบุคลากรได้โดยเทคโนโลยีที่นิยมนำมาใช้ในปัจจุบันเช่น
1.1เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
1.2เทคโนโลยีฐานข้อมูล
1.3เทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซ
1.4เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้ค่าสินค้า
1.5เทคโนโลยีด้านความมั่นคงของระบบข้อมูล
1.6เทคโนโลยีการทำดิจิทัลให้เหมาะสมที่สุด
1.7เทคโนโลยีไร้สาย
1.8เทคโนโลยีสำนักงานเสมือน
1.9เทคโนโลยีระบบประยุกต์ด้านการสื่อสาร
2.แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
2.1ชิป
2.2หน่วยเก็บ
2.3สภาพแวดล้อมเชิงออกเจกต์
2.4เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซ่อมบำรุงด้วยตนเอง
2.5คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม
2.6นาโนเทคโนโลยี

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทค
1.ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.ช่วยให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศที่กระจายไปทั่วทุกแห่งทำให้ทุกคนที่สนใจมีโอกาสในการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน
3.ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในโรงเรียน
4.ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
5.ประโยชน์ต่อการป้องกันประเทศ
6.ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม

ใบงาน 1.1 ให้นักศึกษาทำกิจกรรมดังต่อไปนี้
1. ยกตัวอย่างการทำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้งานด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน

1.1ควบคุมระบบปรับอากาศ

1.2ควบคุมการเปิดปิดไฟฟ้าในบ้านผ่านโทรศัพท์

2. อธิบายการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านต่าง ๆ

-การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการผลิตสินค้าทำให้สามารถผลิตสินค้าได้ในจำนวนมากและมีราคาที่ถูกลง

แบบฝึกหัดที่ 1
ตอนที่ 1
1.ความหมายของคำว่า"เทคโนโลยี"(Technology) คือ
- สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักร วัสดุ
2.ความหมายของคำว่า "สารสนเทศ" (Information) คือ
-ข่าวสารที่ได้จากข้อมูลดิบจากแหล่งต่าง ๆ นำมาคำนวณหาสถิติหรือผ่านกระบวนการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
3.ความหมายของคำว่า"เทคโนโลยีสารสนเทศ"(Information Technology) คือ
-การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการโดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์
4.ความหมายของคำว่า"เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์"คือ
-เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆต่อเชื่อมกันเรียกว่า"ฮาร์ดแวร์"ซึ่งฮาร์ดแวร์จะทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์
5.ความหมายของคำว่า "เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม"คือ
-การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศให้ง่ายมากขึ้น และสามารถกระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องครบถ้วนและทันเหตุการณ์
6.องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่
-เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม
7.ตัวอย่างประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์กร คือ
1.ช่วยเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการทำงาน
2.ช่วยจัดระบบสารสนเทศที่มีอยู่มากให้เป็นระบบ
3.ช่วยให้การสื่อสารมีความรวดเร็วมากขึ้น
8.ตัวอย่างโปรแกรมปฏิบัติการ (อย่างน้อย 3 โปรแกรม) ได้แก่
-โปรแกรมปฏิบัติการยูนิกซ์
-โปรแกรมปฏิบัติการ(DOS)
-โปรแกรมปฏิบัติการ Windows XP
9.ยกตัวอย่างแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต คือ
-อาจมีการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบจากโมเลกุลที่มีความเร็วสูงสุด ที่มีโครงสร้างแบบคริสตัล และมีขนาดเล็กมากจนสามารถพกติดตัวได้ โดยใช้ไฟฟ้าน้อยมาก
10.ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อสิ่งแวดล้อม คือ
-ใช้เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูล เช่น ใช้ภาพถ่ายทางอากาศจากดาวเทียมตรวจสอบสภาพการถูกทำลายการตรวจสอบเขตป่าสงวนด้วยเครื่องบอกตำแหน่งบอกดาวเทียมทำให้ทราบว่าที่ใดอยู่ในเขตพื้นที่สงวน

ตอนที่ 2

1.ง.
2.ค.
3.ก.
4.ง.
5.ง.
6.ข.
7.ก.
8.ง.
9.ก.
10.ค.
11ง.
12ง.
13ง.
14ก.
15.ง.